หน้าที่

ด้านการบำรุงรักษา
1. ดูแผนการบำรุงรักษาประจำเดือนในการบำรุงรักษาเครื่องจักร
2. ตรวจสอบเครื่องจักรที่จะบำรุงรักษา  รายละเอียดการบำรุงรักษา
3. จัดเตรียมอะไหล่  อุปกรณ์  เครื่องมือที่ใช้ในการบำรุงรักษาให้พร้อม
4.  ก่อนใช้งานเครื่องมือวัด  ตรวจสอบเครื่องมือวัดอยู่ในสถานะใช้งานได้  และไม่หมดอายุการใช้งาน
5.  กรณีเครื่องมือวัดหมดสภาพการใช้งาน  หรือหมดอายุการใช้งาน  ให้รายงานหัวหน้า  เพื่อทำการร้องขอแผนกสอบเทียบดำเนินการสอบเทียบเครื่องมือวัดนั้นๆ  ห้ามไม่ให้ใช้เครื่องมือวัดที่หมดสภาพการใช้  หรือไม่ผ่านการสอบเทียบ  หรือหมดอายุอย่างเด็ดขาด
6. ดูคู่มือปฏิบัติ / ดำเนินการปฏิบัติเครื่องที่บำรุงรักษาตามวิธีการปฏิบัติงาน  ( WI. )
7. ตรวจสอบเครื่องจักร ( ใช้ใบตรวจสอบ / การทดลองเครื่องจักร )
8. บันทึกการบำรุงรักษา  และการใช้อะไหล่อุปกรณ์
9. ดูแลความสะอาดบริเวณที่ปฏิบัติงาน  และความเรียบร้อย
ด้านการซ่อมบำรุง
1. จัดเตรียมอะไหล่  อุปกรณ์  เครื่องมือที่ใช้ในการซ่อมบำรุงให้พร้อม
2. รับใบแจ้งซ่อมจากหน่วยงานต่างๆ  และลงบันทึกการรับ
3. ตรวจเช็คประวัติเครื่องที่รับแจ้ง / ตรวจเช็คเครื่องจักร  ทำการซ่อมบำรุงตามวิธีการปฏิบัติงาน ( WI. )
4. ตรวจสอบเครื่องจักร ( ใช้ใบตรวจสอบ / การทดลองเครื่องจักร )
5. บันทึกการซ่อมบำรุง  และการใช้อะไหล่อุปกรณ์
6. ดูแลความสะอาดบริเวณที่ปฏิบัติงาน  และความเรียบร้อย
การพัฒนา – ปรับปรุง
1. เสนอความคิดในการปรับปรุงเครื่องจักรที่ดูแลให้กับหัวหน้ารับทราบ

2. ร่วมกับหัวหน้าในการปรับปรุง / ป้องกัน  งานที่ปฏิบัติรวมทั้งกิจกรรมวัตถุประสงค์คุณภาพ

คุณสมบัติ
การศึกษา : ปวช. ด้านเครื่องกล หรือไฟฟ้า

คุณสมบัติ

1. ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค
2. ไม่จำกัดเพศ
3. ไม่จำกัดอายุ

หน้าที่

1. ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
2. วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตรายและกำหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง
3. แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
4. ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญ อันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างและรายงานผลการตรวจสอบ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายจ้าง เพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
5. รวบรวมสถิติและจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย การเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างเสนอต่อนายจ้าง
6. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย